หมอลำเป็นศิลปะการแสดงที่มีความสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานของประเทศไทย เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ผสมผสานการร้อง การเล่าเรื่อง และการเต้นรำ โดยมีจังหวะดนตรีที่เฉพาะตัว ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านเช่น แคน โหวด พิณ และกลอง เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานและมีชีวิตชีวา
หมอลำมีต้นกำเนิดมายาวนานในวิถีชีวิตของชาวอีสาน โดยเริ่มแรกเป็นการร้องเพลงเพื่อสวดมนต์หรือบูชาในงานพิธีทางศาสนา ต่อมาได้พัฒนาเป็นการเล่าเรื่องราวต่างๆ ผ่านบทเพลง โดยเนื้อหาอาจเกี่ยวกับตำนานพื้นบ้าน นิทาน หรือเรื่องราวชีวิตประจำวันของชาวบ้าน
หมอลำมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทมีลักษณะและรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันไป อาทิ หมอลำพื้น การแสดงแบบดั้งเดิมที่เน้นการร้องเพลงและการเล่นดนตรี, หมอลำเรื่อง การแสดงที่มีเนื้อเรื่องยาวและซับซ้อน มักเป็นเรื่องราวจากตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน, หมอลำซิ่ง การแสดงที่มีจังหวะเร็วและเน้นความสนุกสนาน บางครั้งมีการแสดงตลกผสมเข้าไป
ด้วยจิตวิญาณของชาวอีสานที่รักความสนุกสนาน ใฝ่หาอิสระและเสรีภาพ หมอลำจึงสามารถปรับตัวและพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัยใหม่ได้ตลอดมา ทั้งเรื่องของการเพิ่มเทคโนโลยีเข้าไว้การแสดง การสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ๆ เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ รวมไปถึงการผสมผสานกับศิลปะการแสดงอื่นๆ เพื่อให้หมอลำยังคงมีชีวิตชีวาและเป็นที่นิยมในทุกยุคสมัย
หมอลำ สัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสาน ที่ยังคงสืบทอดและพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง