การหมักดองของอีสาน: ทางเลือกที่ยั่งยืนสู่อนาคต

การหมักและดองเป็นวิธีการถนอมอาหารที่มีมานับพันปีในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “ปลาร้า” หนึ่งในอาหารพื้นถิ่นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รักของคนไทย การหมักปลาร้าไม่ได้เพียงแค่รักษารสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ยังสะท้อนถึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ความยั่งยืน และการดูแลสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในวิถีชีวิตชาวอีสาน

กระบวนการหมักดอง จะมีวิธีและกระบวนการที่เน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติ โดยใช้จุลินทรีย์และกระบวนการทางธรรมชาติในการแปรรูปอาหารให้เก็บได้นานขึ้น การใช้วัตถุดิบท้องถิ่น เช่น ปลาและเกลือที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากภายนอก ซึ่งช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการใช้พลังงานให้น้อยลงในกระบวนการผลิต กระบวนการหมักดองจึงมีส่วนในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อาหารหมักดอง อย่าง “ปลาร้า” ยังไม่เพียงแต่เป็นอาหารที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสานเท่านั้น แต่ยังเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน การทำปลาร้าเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมได้ ซึ่งสนับสนุนการสร้างงานและการกระจายรายได้ไปยังผู้คนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นชาวประมง ชาวสวน หรือแม่ค้าพ่อค้าที่เกี่ยวข้องกับการขายปลาร้า นอกจากนี้ การส่งออกปลาร้าไปยังประเทศต่าง ๆ ยังเป็นช่องทางในการเผยแพร่วัฒนธรรมอีสานสู่สากลอีกทางหนึ่งด้วย

เราต้องยอทมรับว่าความยั่งยืนและการอนุรักษ์วัฒนธรรม ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ท้าทาย การหมักดองเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากร และลดขยะอาหาร การหมักปลาร้าเป็นกระบวนการที่ใช้น้อย ทิ้งน้อย และสร้างผลผลิตที่คงทน การถนอมอาหารให้เก็บรักษาได้ยาวนานเป็นการลดการสูญเสียอาหารที่มีคุณค่า ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลกระทบเชิงบวกต่ออนาคต การฟื้นฟูและส่งเสริมการหมักดองในวัฒนธรรมอีสานไม่เพียงแต่เป็นการรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่ยังเป็นการส่งเสริมความยั่งยืนในแง่ของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตที่การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและการลดคาร์บอนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ กระบวนการหมักดองจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเชื่อมโยงระหว่างวิถีชีวิตดั้งเดิมกับการดูแลสิ่งแวดล้อม การถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการหมักให้กับคนรุ่นหลังยังเป็นการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

 

Impact of Fermentation toward the Regenerative Future

เมื่อความสำคัญของกระบวนการหมักในวัฒนธรรรมอีสานและผลกระทบเชิงบวกต่ออนาคดที่ยั่งยืนสอดคล้องและไปด้วยกันอย่างกลมกลืน งานปลาร้าหมอ]e Isan to the World จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการหมักอาหาร การเกษตรยั่งยืน และนักวิจัย จึงมารวมตัวกันแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการหมักปลาร้า และผลิตภัณฑ์หมักอื่น ๆ ของโลก โดยมุ่งเน้นบทบาทสำคัญของของการหมักกับกระบวนการฟื้นฟูทรัพยากร  ธรรรมชาติ การสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เวทีนี้จะชี้ให้เห็นว่าการหมักนั้น ไม่เพียงแค่สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ยังมีศักยภาพในการเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่ทิ้งที่ฟื้นฟูธรรมชาติและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมอีสานและโลกสากล

 

สนใจเข้าร่วมฟังได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00-14.00 น. 

Kaenkaew Live House ชั้น 28 โรงแรมแอดลิบ ขอนแก่น

 

Panelist :

Marc Buckley, RegenASIA

Chef Walter el Nagar จากสวิตเซอร์แลนด์

Moderated by ดร.ศิริกุล เลากัยกุล จาก SB ประเทศไทย