หมอลำ…เมื่อศิลปะดั้งเดิมกับอนาคตที่ยั่งยืน ผสานไปด้วยกัน

หมอลำไม่เพียงแต่เป็นศิลปะพื้นบ้านที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวอีสานเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญ ที่สะท้อนและส่งเสริมความยั่งยืน 


การแสดงหมอลำเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีมีบทบาทในการสื่อสารวิถีชีวิตและคุณค่าของชุมชนอีสานต่อผู้ชมรุ่นใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน โดยไม่สูญเสียเอกลักษณ์ หมอลำเป็นสื่อที่ช่วยรักษาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงการสืบทอดหมอลำจากรุ่นสู่รุ่นแสดงให้เห็นถึงการอนุรักษ์ความรู้ และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ขับร้อง และการเล่าเรื่อง โดยอาศัยวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ

 

หมอลำไม่เพียงแค่สร้างความบันเทิง แต่ยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับศิลปินและชุมชนท้องถิ่นด้วย การสนับสนุนงานแสดงหมอลำและการนำหมอลำไปเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นแนวทางที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การนำการแสดงหมอลำไปเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานในชุมชนในขณะเดียวกันก็ช่วยสืบทอดศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) ที่เน้นการรักษาทรัพยากรทางวัฒนธรรมควบคู่กับการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ


ในแง่ของสิ่งแวดล้อม หมอลำสามารถเชื่อมโยงกับการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่ยั่งยืน เช่น การแสดงในงานเทศกาลหมอลำในท้องถิ่นมักจัดขึ้นในพื้นที่ที่สามารถรองรับผู้ชมได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีระบบและจัดการอย่างเหมาะสมช่วยให้ชุมชนสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ได้ในระยะยาว

 

Plara Morlam Isan to the World ตั้งใจอย่างยิ่งที่จะกิจกรรมครั้งนี้เพื่อแสดงและสะท้อนให้เห็นมิติของความยั่งยืนที่ทขึ้นจริงได้ เราตั้งใจให้หมอลำเป็นตัวอย่างของการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมกับความยั่งยืนในโลกสมัยใหม่ ทำให้เราเห็นว่าศิลปะพื้นบ้านสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ในยุคที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ